พบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และอธิบดีกรมการศาสนา
วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2566
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) เข้าพบนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา เพื่อหารือเรื่อง การเตรียมการจัดโครงการธรรมยาตรา (ครั้งที่ 3) มหานทีคงคา-ลุ่มน้ำโขง: สักการะพระบรมสารีริกธาตุพร้อมพระอัฐิธาตุพระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะจากชมพูทวีป ซึ่งมีแผนงานจะจัดขึ้นปลายปี
ในโอกาสนี้ ดร.สุภชัยฯ ได้มอบรูปหล่อพระบรมครูแพทย์ชีวกโกมารภัจจ์ พร้อมด้วยหนังสือธรรมยาตรา 5 แผ่นดินลุ่มน้ำโขง พุทธศาสตร์การทตเพื่อสันติภาพโลก (ครั้งที่ 2 แด่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อความเป็นสิริมงคลและเป็นที่ระลึกถึงพุทธไมตรีที่ประเทศในกลุ่มลุ่มน้ำโขงมีต่อกัน
เข้าหารือกับผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์มติชน
วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2566
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยา 980 นำคณะผู้บริหารสถาบันโพธิคยาฯ โดยมี ดร.อภัย จันทนจุลกะ รองประธานคณะกรรมการ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รองเลขาธิการและผู้อำนวยหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) นายเกษม มูลจันทร์ รองเลขาธิการ นายสุรพล มณีพงษ์ รองเลขาธิการ และนายพรเทพ อัมพรกลิ่นแก้ว กรรมการบริหารสถาบันฯ ได้เข้าพบหารือกับนายขรรค์ชัย บุนปาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหนังสือพิมพ์มติชน และผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์มติชน ในฐานะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สถาบัน พร้อมคณะผู้บริหารบริษัทมติชน โดยกล่าวถึง ทิศทางการทำงานสถาบันและได้พูดคุยหารือถึงความเคลื่อนไหวในภารกิจงานของสถาบันโพธิคยาฯ เพื่อการขับเคลื่อนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยอาศัยหลักพระพุทธศาสนาเป็นแกนกลางในการพัฒนาให้เกิดความเจริญอย่างยั่งยืนและมั่นคง
โดยระหว่างนี้ สถาบันโพธิคยาฯกำลังดำเนินงานเตรียมการจัดโครงการธรรมยาตรา (ครั้งที่ 3) มหานทีคงคา-ลุ่มน้ำโขง เพื่อรวมพลังสายธารศรัทธาของพุทธบริษัทให้มีความสมัครสมานสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวเพื่อสร้างสังคมสันติสุข ในฐานะที่มีสมเด็จพ่อองค์เดียวกัน คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า
พบหารือ อดีตรองนายกรัฐมนตรี สปป.ลาว
วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2566
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) เข้าพบท่านสมสะหวาด เล่งสะหวัด อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ สปป.ลาว และภริยา นางบุนกองมะนี เล่งสะหวัด ที่บ้านพัก เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างกันในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยสถาบันฯ จะดำเนินโครงการธรรมยาตรา (ครั้งที่ 3) : มหานทีคงคา-ลุ่มน้ำโขง ในปลายปีนี้ พร้อมกันนี้ ดร.สุภชัยฯ ได้มอบหนังสือธรรมยาตรา 5 แผ่นดินลุ่มน้ำโขง พุทธศาสตร์การทตเพื่อสันติภาพโลก ไว้เป็นที่ระลึกถึงพุทธไมตรีที่ไทย-สปป.ลาวมีต่อกัน
ในโอกาสนี้ พระอาจารย์ ดร. พวงประเสริฐ พูมะวงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์องค์ตื้อ เมตตาเข้าร่วมฟังการหารือด้วย
เยี่ยมชมสถานที่ปฏิบัติธรรมขององค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์แห่งสปป.ลาว
วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2566
พระอาจารย์ ดร. พวงประเสริฐ พูมะวงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์องค์ตื้อ นำคณะผู้บริหารสถาบันฯ และคณะจากสถานทูตอินเดีย เยี่ยมชมบริเวณก่อสร้างสถานที่ปฏิบัติธรรมขององค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์แห่งสปป.ลาว ที่ชานเมืองนครเวียงจันทร์ โดยมี ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) พร้อมด้วย ผู้แทนเอกอัครทูตอินเดียประจำสปป.ลาว Mr. Amit Kumar Gupta, Second Secretary และ Mr. Kesang Wangdi, First Secretary (Consular) สถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย
พบหารือ หัวหน้าห้องการ องค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์แห่งสปป.ลาว
วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2566
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) พร้อมด้วย ผู้แทนเอกอัครทูตอินเดียประจำสปป.ลาว Mr. Amit Kumar Gupta, Second Secretary และ Mr. Kesang Wangdi, First Secretary (Consular) สถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย เข้าพบหารือพระอาจารย์ อะทิปะไต ไมตีจิด หัวหน้าห้องการองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์แห่งสปป.ลาว (Ven.Athipatay MAYTRYJIT) พร้อมด้วย พระอาจารย์ ดร. พวงประเสริฐ พูมะวงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์องค์ตื้อ หัวข้อหารือ คือ เรื่องการเตรียมจัดโครงการธรรมยาตรา ครั้งที่ 3 มหานทีคงคา-ลุ่มน้ำโขง เพื่อการขับเคลื่อนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติมี เพื่อสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยอาศัยหลักพระพุทธศาสนาเป็นแกนกลางในการพัฒนาให้เกิดความเจริญอย่างยั่งยืนและมั่นคงบนเส้นทางอริยมรรค
ข้าพบหารือท่านประธานสภาแห่งชาติ แห่งสปป.ลาว และภริยา
วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2566
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) เข้าพบหารือกับ ดร.นายไซสมพอน พมวิหาน ประธานสภาแห่งชาติ แห่งสปป.ลาว พร้อมภริยา นางวิพาวัน พมวิหาน เรื่อง การเตรียมจัดโครงการธรรมยาตรา ครั้งที่ ๓ มหานทีคงคา-ลุ่มน้ำโขง อันเป็นพันธกิจหลักในการดำเนินงานของสถาบันฯ เพื่อการขับเคลื่อนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยอาศัยหลักพระพุทธศาสนาเป็นแกนกลางในการพัฒนาให้เกิดความเจริญอย่างยั่งยืนและมั่นคงบนเส้นทางอริยมรรค ทั้งนี้โครงการธรรมยาตราฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเดินตามรอยบาทองค์พระศาสดาในการปฏิบัติธรรม เพื่อรวมพลังสายธารศรัทธาของพุทธบริษัทให้มีความสมัครสมานสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว ในฐานะที่มีสมเด็จพ่อองค์เดียวกัน คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เข้าพบหารือผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์องค์ตื้อ
วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2566
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) พร้อมด้วย ผู้แทนเอกอัครทูตอินเดียประจำสปป.ลาว Mr. Amit Kumar Gupta, Second Secretary และ Mr. Kesang Wangdi, First Secretary (Consular) สถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย เข้าพบหารือพระอาจารย์ ดร. พวงประเสริฐ พูมะวงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์องค์ตื้อ เรื่องการเตรียมจัดโครงการธรรมยาตรา ครั้งที่ 3 มหานทีคงคา-ลุ่มน้ำโขง เพื่อการขับเคลื่อนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
ร่วมบำเพ็ญบุญกุศลที่วัดหนองด้วง สปป.ลาว
วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2566
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) พร้อมด้วย ผู้แทนเอกอัครทูตอินเดียประจำสปป.ลาว Mr. Amit Kumar Gupta, Second Secretary และ Mr. Kesang Wangdi, First Secretary (Consular) สถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย เดินทางมาร่วมบำเพ็ญบุญกุศลที่วัดหนองด้วง โดยมี พระอาจารย์ใหญ่มหาบุนมา สิมมาพม ประธานศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นประธานในพิธี
ในโอกาสบุญนี้ ทางคณะผู้บริหารสถาบันฯ ได้มีโอกาสพบ ยาแม่นารี สีสุลิด ภริยา ฯพณฯ ท่าน ทองลุน สีสุลิดประธานประเทศ สปป.ลาว ด้วย
การลาสิกขาสามเณรชาวอินเดียภาคฤดูร้อน
วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2566
พระครูปริยัติโพธิธรรมวิเทศ (ดร.พระมหาพัน) เจ้าอาวาสวัดไทยนาลันทา มอบหมายให้ พระมหานิพนธ์_ญาณวีโร เลขานุการเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา เจ้าอาวาสวัดลัฏฐิวันสวนตาลหนุ่ม พระอุปัชฌาย์สามัญ พระอาจารย์ประจำสถาบันโพธิคยา เป็นประธานสงฆ์ให้การลาสิกขาสามเณรชาวอินเดียภาคฤดูร้อนวัดไทยนาลันทา 43 รูป (มีสามเณรบวชอยู่เรียนต่อ 26 รูป)
น้อมกราบมหามุทิตาโมทนา สาธุ
เข้าพบหารือประธานสภาประชาชนนครหลวงเวียงจันทร์
วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2566
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) พร้อมด้วย ผู้แทนเอกอัครทูตอินเดียประจำสปป.ลาว Mr. Amit Kumar Gupta, Second Secretary และ Mr. Kesang Wangdi, First Secretary (Consular) สถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย เข้าพบหารือ ท่านอานุพาบ ตุนาโลม ประธานสภาประชาชนนครหลวงเวียงจันทน์ (Mr. Anoupharp TOUNALOM, Chairman of the People’s Assembly of Vientiane) เรื่องการเตรียมจัดโครงการธรรมยาตรา ครั้งที่ 3 มหานทีคงคา-ลุ่มน้ำโขง เพื่อการขับเคลื่อนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติมี เพื่อสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยอาศัยหลักพระพุทธศาสนาเป็นแกนกลางในการพัฒนาให้เกิดความเจริญอย่างยั่งยืนและมั่นคงบนเส้นทางอริยมรรค
เข้าพบหารือท่านรองประธานศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ
วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 12.00 น.
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) พร้อมด้วย ผู้แทนเอกอัครทูตอินเดียประจำสปป.ลาว Mr. Amit Kumar Gupta, Second Secretary และ Mr. Kesang Wangdi, First Secretary (Consular) สถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย เข้าพบหารือกับนางสีพระจัน นันทะวงสา (Siphachan NANTHAVONGSA) รองประธานศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ เรื่องการเตรียมจัดโครงการธรรมยาตรา ครั้งที่ 3 มหานทีคงคา-ลุ่มน้ำโขง
ในโอกาสนี้ ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ ได้มอบพระพุทธรูปหลวงพ่อองค์ดำ ซึ่งจำลองมาจากนาลันทา สาธารณรัฐอินเดีย แด่นางสีพระจัน เพื่อความเป็นสิริมงคล และมอบหนังสือธรรมยาตรา 5 แผ่นดินลุ่มน้ำโขง ไว้เป็นที่ระลึกพุทธไมตรีไทย-สปป.ลาว และพี่น้องประเทศลุ่มน้ำโขง
กราบถวายความเคารพ ประธานศูนย์กลางองค์การพระพุทธศาสนาสัมพันธ์แห่งสปป.ลาว
วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2566
พระอาจารย์ใหญ่มหาบุนมา สิมมาพม ประธานศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์แห่งสปปลาว ให้โอกาส ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการ สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 และ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รองเลขาธิการ และผู้อำนวยการหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) พร้อมด้วย นายเคซัง วังดี เลขานุการเอก (ฝ่ายกงสุล) สถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย เข้ากราบถวายความเคารพเนื่องในโอกาสเยือนสปป.ลาว พร้อมถวายรายงานเรื่องโครงการจัดงานธรรมยาตรา ครั้งที่ 3 คงคา-ลุ่มน้ำโขง
กราบถวายความเคารพ รองประธานศูนย์กลางองค์การพระพุทธศาสนาสัมพันธ์แห่งสปป.ลาว
วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2566
พระอาจารย์ใหญ่มหาเหวด มะเสไน รองประธานศูนย์กลางองค์การพระพุทธศาสนาสัมพันธ์แห่งสปป.ลาว, องค์ชี้นำรวมเวียกงานกรรมมาธิการเผยแผ่ศีลธรรมและปฏิบัติกรรมฐานศูนย์กลาง, องค์ชี้นำรวมเวียกงานกรรมมาธิการสาธารณูประการ และ เจ้าอาวาสวัดสีสะเกด เมืองจันทะบุรี นครหลวงเวียงจันทร์ ให้โอกาส ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการ สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 และ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รองเลขาธิการ และผู้อำนวยการหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) พร้อมด้วย นายเคซัง วังดี เลขานุการเอก (ฝ่ายกงสุล) สถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย เข้ากราบถวายความเคารพเนื่องในโอกาสเยือนสปป.ลาว พร้อมถวายรายงาน เรื่องการจัดโครงการธรรมยาตรา ครั้งที่ 3 คงคา-ลุ่มน้ำโขง
ตามรอยพระถังซำจั๋งบนเส้นทางสายไหมจากจีนสู่อินเดีย
วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2566
เยี่ยมชม วัดหยวนทง นครคุนหมิง
ก่อนเดินทางกลับประเทศไทย ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ พร้อมด้วย นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) และนายเกษม มูลจันทร์ รองเลขาธิการ ได้มีโอกาสพบหารือกับ ท่านคังหนานซัง เลขาธิการสมาพันธ์พุทธศาสนาแห่งมณฑลยูนนาน ที่วัดหยวนทง นครคุนหมิง เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานพระพุทธศาสนาเพื่อสันติสุขร่วมกัน
พร้อมกันนี้ได้ดร.สุภชัยฯ ได้กล่าวถึงบทบาทและเป้าหมายในการทำงานพระพุทธศาสนาของสถาบันโพธิคยาฯ ด้วย
ในโอกาสนี้ คณะผู้บริหารได้เยี่ยมชม วัดหยวนทง คุนหมิง ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ถังมีอายุประมาณ 1200 ปี
เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในเมืองคุนหมิง เดิมเคยเป็นศาลเจ้าแม่กวนอิมมาก่อน ภายในวัดมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ พระสังฆจาย พระอุยโถว เป็นต้น วัดหยวนทงเป็นวัดที่ชาวจีนนิยมมาไหว้พระขอพร และภายในวัดแห่งนี้ยังมีที่ตั้งของโบสถ์ไทย และประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง โดย นายกรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างไทย-จีน
ตามรอยพระถังซำจั๋งบนเส้นทางสายไหมจากจีนสู่อินเดีย
เลขาธิการสมาคมมิตรภาพระหว่างประเทศฯ เลี้ยงส่งคณะก่อนเดินทางกลับประเทศไทย
เลขาธิการสมาคมมิตรภาพระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China Association for International Friendly Contact) สาขามณฑลยูนนานและกวางโจว เป็นเจ้าภาพเลี้ยงส่ง ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ พร้อมด้วย นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) และนายเกษม มูลจันทร์ รองเลขาธิการ เนื่องในโอกาสเยือนประเทศจีน ตามคำเชิญของสมาคมฯ
ในโอกาสนี้ ดร.สุภชัย ฯ ได้กล่าวขอบคุณท่านเลขาธิการ และคณะทำงานจากสมาคมมิตรภาพฯ ที่มอบไมตรีจิตโดยให้โอกาสสถาบันโพธิคยาฯ ได้ศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาบนเส้นทางสายไหม ทั้งนี้สถาบันฯจะนำความรู้และประสบการณ์การเดินทางที่ได้รับมาไปใช้ประโยชน์ต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักธรรมขององค์พระศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการสร้างคุณธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมต่อไป
ตามรอยพระถังซำจั๋งบนเส้นทางสายไหมจากจีนสู่อินเดีย
ทะเลทรายหมิงซาซาน จินตนาการความตรากตรำของพระถังซำจั๋ง
วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2566
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ พร้อมด้วย นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) และนายเกษม มูลจันทร์ รองเลขาธิการ เยือนประเทศจีนตามคำเชิญของสมาคมมิตรภาพระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China Association for International Friendly Contact) สาขามณฑลยูนนาน
ทะเลทรายหมิงซาซาน ตั้งอยู่กลางทะเลทรายโกบี ห่างจากเมืองตุนหวง มณฑลกานซู ไปประมาณ 5 กิโลเมตร และมีขนาดกว้างใหญ่กว่า 40 กิโลเมตร ภูมิประเทศเวิ้งหว้างสุดขอบเขตสายตา ทำให้จินตนาการถึงพลังศรัทธามุ่งมั่นอย่างแรงกล้าของพระถังซำจั๋งที่ต้องอาจหาญอดทนฝ่าฝันอุปสรรคนานาประการ กว่าจะเดินทางไปศึกษาพุทธธรรมยังชมพูทวีปสำเร็จ
ตามรอยพระถังซำจั๋งบนเส้นทางสายไหมจากจีนสู่อินเดีย
ถ้ำโมเกาบนเส้นทางสายไหมโบราณ
วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2566
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ พร้อมด้วย นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) และนายเกษม มูลจันทร์ รองเลขาธิการ เยือนประเทศจีนตามคำเชิญของสมาคมมิตรภาพระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China Association for International Friendly Contact) สาขามณฑลยูนนาน
ถ้ำโมเกา (Mogao Grottoes) หรือรู้จักในชื่อถ้ำพระพันองค์ ตั้งอยู่บนภูเขาหมิงซา กลางทะเลทรายโกบี ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองตุนหวง มณฑลกานซู่ ซึ่งอยู่บนเส้นทางสายไหม เป็นจุดค้าขาย แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และเป็นเส้นทางแห่งการเผยแผ่พุทธศาสนาจากอินเดียเข้ามายังประเทศจีน
ถ้ำโมเกา สร้างด้วยมหาศรัทธาของชาวพุทธ สันนิษฐานว่า หลวงจีนเหลอ ซุ่น (Lezun) เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างถ้ำเมื่อปี พ.ศ. 909 เพื่อสร้างพระพุทธรูป 1000 องค์ โดยบอกบุญพ่อค้าคหบดีที่ค้าขายอยู่บนเส้นทางไหม สร้างโดยการเจาะ ขุด แกะสลักหน้าผาทางซีกตะวันออกของภูเขาหมิงซา ลักษณะเป็นถ้ำ มีจำนวนทั้งหมด 492 ถ้ำ รวมความยาว 1600 เมตร เพื่อสร้างเป็นพุทธสถาน เและนำพระพุทธรูปมาประดิษฐาน รวมทั้งเก็บโบราณวัตถุอันทรงคุณค่าต่อประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนา ซึ่งค้นพบเป็นจำนวนมาก
ถ้ำโมเกาได้รับยกย่องจากองค์กรยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2530 และได้รับการจัดอันดับให้เป็น หนึ่งในสามแหล่งพุทธประติมากรรมที่งดงามที่สุดในประเทศจีน
วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
ตามรอยพระถังซำจั๋งบนเส้นทางสายไหม จากจีนสู่อินเดีย
มหัศจรรย์อลังการ ถ้ำหินแกะสลักม่ายจีซานบนหน้าผา
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ พร้อมด้วย นายมาริษเสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) และนายเกษม มูลจันทร์ รองเลขาธิการ เยือนประเทศจีนตามคำเชิญของสมาคมมิตรภาพระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China Association for International Friendly Contact) สาขามณฑลยูนนาน
ถ้ำหินแกะสลักม่ายจีซาน (Maiji Mountain Grottoes) หนึ่งในสี่ถ้ำขนาดใหญ่ที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาในประเทศจีน เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างขึ้นครั้งแรกในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ฉิน หรือราว พ.ศ.๙๒๗ – ๙๖๐ ในสมัยพระพุทธศาสนาจากอินเดียเข้าสู่จีนผ่านเส้นทางสายไหม ถ้ำหินม่ายจีซานตั้งอยู่บนหน้าผาสูง ๑๔๒ เมตร อยู่ห่างจากเส้นทางสายไหมไปทางใต้เพียงไม่ถึง ๒ กิโลเมตร ในเขตม่ายจี เมืองเทียนสุ่ย มณฑลกานซู่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน
ถ้ำหินแกะสลักเขาม่ายจีหรือม่ายจีซาน สร้างด้วยภูมิปัญญาแห่งศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาของพุทธบริษัทในสมัยโบราณ โดยตลอดแนวหน้าผามีถ้ำมากถึง ๒๒๑ แห่ง มีพระพุทธรูปหินสลักกว่า ๗๐๐๐ องค์ มีจิตรกรรมฝาผนังยาวกว่า ๑๓๐๐ ตารางเมตร เป็นต้น โดยใช้ไม้กระดานเป็นทางเดินเชื่อมถ้ำต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อเดินชม
ถ้ำม่ายจีได้รับการอนุรักษ์ดูแลอย่างดีสมบูรณ์ เหตุสำคัญนั้น ด้วยสถานที่ตั้งอยู่บนหน้าผาสูงชันทำให้ยากต่อการบุกรุกทำลาย จึงทำให้วันนี้ถ้ำพระพุทธศาสนาเขาม่ายจียังคงตั้งตระหง่าน ทำหน้าที่เป็นประจักษ์พยานแสดงให้เห็นพลังศรัทธาชาวพุทธ เพื่อบอกย้ำว่าความเจริญทางพระพุทธศาสนานั้นรุ่งเรืองช่วงโชติในแผ่นดินจีนเพียงใด
วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
ตามรอยพระถังซำจั๋งบนเส้นทางสายไหม จากจีนสู่อินเดีย
พระบรมสารีริกธาตุข้อนิ้วพระหัตถ์ พุทธสถานวัดฝ่าเหมินซื่อ
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ พร้อมด้วย นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) และนายเกษม มูลจันทร์ รองเลขาธิการ เยือนประเทศจีนตามคำเชิญของสมาคมมิตรภาพระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China Association for International Friendly Contact) สาขามณฑลยูนนาน
พุทธสถานวัดฝ่าเหมินซื่อ มีความหมายว่า ประตูสู่พุทธธรรม ตั้งอยู่ในอำเภอฝูเฟิง เมืองเป่าจี ห่างจากนครซีอานไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร เป็นวัดเก่าแก่มีอายุมากกว่า ๑,๘๐๐ ปี สร้างมาตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศ์ฮั่น ในปีพ.ศ.๖๙๐ เดิมชื่อว่าวัดพระเจ้าอโศก และเป็นหนึ่งในจำนวน ๑๙ วัดของจีนที่ได้รับพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุ (ในส่วนข้อนิ้วพระหัตถ์) จากประเทศอินเดีย และบรรจุไว้ที่องค์เจดีย์พระบรมธาตุ ซึ่งค้นพบในวันวิสาขบูชา พ.ศ.๒๕๓๐ เนื่องจากต้องบูรณเจดีย์ที่ทรุดตัวลง
พระบรมสารีริกธาตุได้รับการบรรจุไว้ใต้ฐานเจดีย์ที่มีลักษณะเป็นวังใต้ดินสร้างเพื่อเก็บของมงคลล้ำค่าไว้มากมาย และพบศิลาจารึกด้วย ซึ่งการค้นพบครั้งนี้นับเป็นการขุดค้นทางโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่และสำคัญ แสดงให้เห็นถึงศรัทธามหาชนชาวพุทธผูกพัน เชื่อมไมตรีแน่นแฟ้นด้วยพระธรรม ภายใต้ร่มเงาแห่งความสันติสุขของการเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนา
วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
ตามรอยพระถังซำจั๋งบนเส้นทางสายไหม จากจีนสู่อินเดีย
อัจฉริยะภาพจิ๋นซีฮ่องเต้ และความเชื่อหลังความตาย
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ พร้อมด้วย นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) และนายเกษม มูลจันทร์ รองเลขาธิการ เยือนประเทศจีนตามคำเชิญของสมาคมมิตรภาพระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China Association for International Friendly Contact) สาขามณฑลยูนนาน
สุสานฉินสื่อหวงหรือจิ๋นซีฮ่องเต้ พิพิธภัณฑ์หุ่นนักรบดินเผาและม้าของจักรพรรดิฉินสื่อหวง ตั้งอยู่ในเขตหลินถง นครซีอาน เมืองเอกมณฑลส่านซี สุสานนี้นับเป็นการขุดค้นพบทางประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจีน ยิ่งใหญ่ที่สุดสิ่งหนึ่งของโลกในศตวรรษที่ยี่สิบ และเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคโบราณ รวมทั้งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกด้วย
กองทัพหุ่นทหารดินเผาภายในสุสานและรถม้าสมัยราชวงศ์ฉินมีขนาดใหญ่โตมโหฬารอยู่ใต้ผืนดิน สภาพของสุสานที่ขุดค้นพบยังคงเก็บรักษาไว้ดังเดิม ลักษณะเป็นมูลดินทรงพีระมิด จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ บริเวณพื้นที่แห่งนี้เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว จักรพรรดิฉินสื่อหวงเคยเสด็จตรงบริเวณเชิงเขาหลีซาน มาเลือกพื้นที่สำหรับก่อสร้างสุสานด้วยพระองค์เอง และจากการขุดค้นพบกองทัพหุ่นทหารดินเผาและม้าศึกจำนวนกว่า ๗,๔๐๐ ตัว ปรากฎให้เห็นเป็นตัวแทนผลงานที่สร้างด้วยความอัจฉริยะของชาวจีน จนปรากฏยืนยันถึงหลักฐานทางอารยธรรมครั้งอดีตที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่อง ความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย พระองค์ทรงสร้างทั้งหมดนี้เพื่อเป็นกองทัพติดตามไปรับใช้และอารักขาพระองค์ในปรโลก
วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
ตามรอยพระถังซำจั๋งบนเส้นทางสายไหม จากจีนสู่อินเดีย
เจดีย์ห่านป่าใหญ่ สถานที่เก็บพระไตรปิฎก พระถังซำจั๋งอัญเชิญจากอินเดียมาจีน
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ พร้อมด้วย นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) และนายเกษม มูลจันทร์ รองเลขาธิการ เยือนประเทศจีนตามคำเชิญของสมาคมมิตรภาพระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China Association for International Friendly Contact) สาขามณฑลยูนนาน
วันนี้คณะเริ่มตามรอยพระถังซำจั๋งบนเส้นทางสายไหมจากจีนสู่อินเดีย ที่วัดเจดีย์ห่านป่าใหญ่ (Big Wild Goose Pagoda) หรือ วัดต้าฉือเอิน เขตเหยี้ยนต่า นครซีอาน เมืองเอกมณฑลส่านซี ตั้งอยู่ทางใต้กำแพงเมืองซีอาน สร้างโดยถังเกาจงในปีพ.ศ. 1195 สมัยราชวงศ์ถัง นับอายุถึงปัจจุบันกว่า 1,300 ปี ปัจจุบันจาก 5 ชั้นเสริมเป็น 7 ชั้น เจดีย์สูง 64.7เมตร และ เหตุที่ตั้งชื่อว่า “ต้าฉือเอิน” ซึ่งแปลว่า ห่านป่าตัวใหญ่ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ความลำบากของพระถังซำจั๋งในการเดินทางจากจีนสู่ชมพูทวีป ซึ่งรอดตายจากการอดน้ำ เพราะได้ติดตามฝูงห่านใหญ่จนพบแหล่งน้ำ เพื่อรำลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ ที่ทำให้ความปรารถนาในศึกษาพระพุทธศาสนาและการอัญเชิญพระไตรปิฎกจากอินเดียกลับมาจีนสำเร็จ เมื่อ “พระถังซำจั๋ง” สร้างเจดีย์ขึ้นจึงได้ตั้งชื่อว่า “ห่านป่าใหญ่”
วัดห่านป่าใหญ่ มีพระถังซำจั๋งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักแปลคัมภีร์พุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของจีน เป็นอาจารย์ผู้แตกฉานในพระไตรปิฏก มีชีวิตอยู่ในช่วง พ.ศ. 1143-1207 ด้วยเหตุที่เลื่อมใสพระพุทธศาสนาตั้งแต่วัยเยาว์ จึงเป็นผู้แตกฉานในพระไตรปิฎกตั้งแต่อายุ 18 ปี พออายุ 28 ปี ท่านออกเดินทางไปชมพูทวีป ในขณะที่กฎหมายไม่อนุญาตให้คนจีนเดินทางออกนอกประเทศ เมื่อ พ.ศ. 1172 พระถังซำจั๋ง ได้ศึกษาพระธรรมที่มหาวิทยาลัยนาลันทา และจาริกแสวงบุญในอินเดีย รวมระยะเวลาไปกลับอินเดียจีนทั้งสิ้น 19 ปี รวมระยะทางที่เดินทางไป-กลับ 58,000 กิโลเมตร
พระถังซำจั๋ง เป็นบุคคลที่มีชีวิตอยู่จริง มีจิตใจศรัทธาทุ่มเทในการศึกษาพระพุทธศาสนา ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่อาจถึงแก่ชีวิต ท่านจึงนับเป็นครูอาจารย์เป็นผู้นำทางพระพุทธศาสนาที่มีคุณูประการต่อการศึกษาพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุทิศชีวิตให้กับงานแปลพระไตรปิฏกและคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่นำกลับมาจากอินเดีย จัดตั้งคณะทำงาน มีวิหารแปลพระคัมภีร์อยู่ภายในวัดห่านป่าใหญ่ ผลงานแปลคัมภีร์ถึง 74 ปกรณ์ 1,335 ผูก อาทิเช่น พระสูตรมหาปรัชญาปารมิตา เป็นต้น
ชีวิตที่มีคุณค่าอันยิ่งใหญ่ของพระถังซำจั๋ง จึงนับบุคคลตัวอย่างที่ควรศึกษาเป็นแบบอย่าง แม้ท่านจะละสังขารไปกว่าพันปีแล้ว แต่เรื่องราวของพระถังซำจั๋ง ก็ยังคงสร้างพลังใจให้คนอีกมากมาย โดยเฉพาะผู้อยู่ในเส้นทางอุทิศชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนา
วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๘.๐๐ น.
สมาคมมิตรภาพระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China Association for International Friendly Contact) ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารเย็นเพื่อเป็นเกียรติแก่ นางอรพินทร์ หาญชาญชัยกุล กงสุลใหญ่ ณ นครซีอาน นางสาววรรัตน์ พิริยานสรณ์ กงลุล และนางสาวฐิตาภา ภาตะนันท์ รองกงสุล ตามคำแนะนำของ ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ณ ร้านอาหาร ฟาง หลิน ย้วน เขตฉื่อเจียง นครซีอาน เพื่อสร้างเครือข่ายช่องทางการติดต่อประสานงานระหว่างสมาคมฯ กับสถานกงสุลใหญฯ ในการใช้พระพุทธศาสนาเป็น Super Soft Power ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน และสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชนของทั้ง 2 ประเทศให้เป็นรูปธรรม
ในโอกาสนี้ ดร.สุภชัยฯ ได้บรรยายสรุปให้กงสุลใหญ่ และคณะฯ ได้รับทราบถึงบทบาท และวัตถุประสงค์ของสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักธรรมขององค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการสร้างคุณธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ปลูกฝังการใช้สติ กรรมฐาน เพื่อสร้างหลักธรรมพรหมวิหาร 4 ให้กับประชาชน นอกจากนี้ ดร.สุภชัยฯ ยังได้อธิบายให้กงสุลใหญ่ฯ และคณะฯ ได้รับทราบถึงเป้าหมาย และกิจกรรมที่สำคัญของสถาบันฯ ในการใช้พระพุทธศาสนาสร้างจุดเชื่อมต่อระหว่างประเทศ และประชาชนในภูมิภาคเอเชีย เพื่อให้แนวความคิด Century of Asia ของนายกรัฐมนตรีอินเดีย ฯพณฯ Narendra Modi เกิดขึ้นได้จริง นำมาซึ่งสันติสุขที่ยั่งยืนในทวีปเอเชีย
วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (ช่วงเช้า)
ตามรอยพระถังซำจั๋งบนเส้นทางสายไหม จากจีนสู่อินเดีย
เนื่องในโอกาส ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ พร้อมด้วย นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) และนายเกษม มูลจันทร์ รองเลขาธิการ เยือนประเทศจีน ตามคำเชิญของสมาคมมิตรภาพระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China Association for International Friendly Contact) สาขามณฑลยูนนาน เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ตามรอยพระถังซัมจั๋งบนเส้นทางสายไหมจากจีนสู่อินเดีย ที่เมืองซีอาน เมืองเทียนซุย เมืองหลานโจว เมืองตุนหวง และเมืองคุนหมิง
ในโอกาสนี้ นายหลี่เจิ้น รองเลขาธิการสมาคมมิตรภาพระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สาขามณฑลยูนนาน ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารสถาบันโพธิคยาฯ ที่เมืองคุนหมิง โดย ดร.สุภชัยฯ ได้กล่าวตอนหนึ่งถึง บทบาทและวัตถุประสงค์ของสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักธรรมขององค์พระศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการสร้างคุณธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม เพื่อลดวิกฤตปัญหาสังคม และพัฒนาเสริมสร้างสันติสุขที่ยั่งยืนในทวีปเอเชียตามหลักพระพุทธศาสนา
วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (ช่วงค่ำ)
อารยชนของ ๒ แผ่นดิน จีน – อินเดีย สัมพันธไมตรีแน่นแฟ้นด้วยพระธรรม
บรรยากาศยามค่ำ ณ นครซีอานหรือฉางอานในยุคโบราณ ซีอานเป็นเมืองเอกของมณฑลส่านซี เป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางสายไหม (Silk Road) เมืองนี้มีอายุยาวนานมากกว่าสามพันปี เป็นเมืองต้นทางค้าขายกับชนชาติตะวันตก ในปัจจุบันเมืองซีอานเป็นเมืองที่เจริญและใหญ่ติด ๑ ใน ๑๐ ของประเทศ และใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน
ประมาณ พ.ศ. ๑๑๗๐ ณ เมืองซีอานแห่งนี้ คือ สถานที่ที่พระถังซัมจั๋งใช้เป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางสู่มหาวิทยาลัยนาลันทาประเทศอินเดีย ศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ในสมัยนั้น
การเยือนเมืองซีอานของคณะสถาบันโพธิคยาฯ ครั้งนี้ มีความตั้งใจมาย้อนอดีตสำรวจหลักฐานการเผยแผ่และความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาอันมีที่มาจากศรัทธาอันยิ่งใหญ่ของพระถังซำจั๋ง ที่โลกได้บันทึกไว้ให้มนุษยชาติได้ระลึกศึกษาถึงความยิ่งใหญ่แห่งอารยชนของ ๒ แผ่นดิน จีน – อินเดีย สัมพันธที่แน่นแฟ้นด้วยมีพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นไมตรีผูกพันเชื่อมไว้ ….
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ พร้อมด้วย นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) และนายเกษม มูลจันทร์ รองเลขาธิการ เยือนประเทศจีนตามคำเชิญของสมาคมมิตรภาพระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China Association for International Friendly Contact) สาขามณฑลยูนนาน
วันศุกร์ที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๖
ถวายรายงานการสนับสนุนงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการ สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ เข้ากราบ พระเดชพระคุณ พระอาจารย์ใหญ่มหาเวด มะเสไน รองประธานองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์แห่งสปป.ลาว เจ้าอาวาสวัดสีสะเกด นครหลวงเวียงจันทน์ และคณะสงฆ์สปป.ลาว พร้อมถวายรายงานการสนับสนุนงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา อยู่ระหว่างขยายออกสู่สากล เพื่อการนำพุทธธรรมมาสู่การปฏิบัติสร้างสันติสุขแก่มนุษยชาติ
สำหรับเช้านี้ พระเดชพระคุณ พระอาจารย์ใหญ่มหาเวด มะเสไน และคณะสงฆ์ลาว เข้ากราบสักการะ เจ้าพระคุณสมเด็จพระอัครมหาสังฆราชาธิบดี กิตติอุเทศบัณฑิต เทพวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชแห่งมหานิกาย ราชอาณาจักรกัมพูชา ที่วัดอุณาโลม ตำบลชัยชนะ อำเภอโดนเปญ ราชธานีพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา
ในวันพรุ่งนี้คณะสงฆ์ลาวจะเดินทางต่อไปยังนครเสียมราฐ และเข้าพักโรงแรมโซฟิเทล อังกอร์ โภคีธรา กอล์ฟ & สปา รีสอร์ท – เสียมราฐ (Sofitel Angkor Phokeethra Golf & Spa Resort) ตามคำอาราธนาโดยสถาบันโพธิคยาฯ และมูลนิธิวีระภุชงค์
วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
พิธีบำเพ็ญบุญปีใหม่สปป.ลาว
สถานเอกอัครรัฐทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประจำราชอาณาจักรกัมพูชา
เนื่องในโอกาสทำบุญวันขึ้นปีใหม่ของสปป.ลาว ที่สถานเอกอัครรัฐทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประจำราชอาณาจักรกัมพูชา
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการ สถาบันโพธิคยาฯ ได้รับเกียรติอันเป็นกุศลอย่างสูงจาก เอกอัครราชทูตลาว ท่านบัวแก้ว พูมวงศา (Buakeo PHUMVONGSA) เชิญร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เจริญพระพุทธมนต์ และถวายสังฆทาน โดยมี พระเดชพระคุณ พระอาจารย์ใหญ่มหาเวด มะเสไน รองประธานองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์แห่งสปป.ลาว เจ้าอาวาส วัดสีสะเกด นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว เป็นประธานสงฆ์
ในการนี้ ดร.สุภชัยฯ ในฐานะกรรมการผู้จัดการ โรงแรมโซฟิเทล พนมเปญ โภคีธารา (Sofitel Phnom Penh Phokeethra) และโรงแรมโซฟิเทล อังกอร์ โภคีธรา กอล์ฟ & สปา รีสอร์ท – เสียมราฐ (Sofitel Angkor Phokeethra Golf & Spa Resort)ได้อาราธนา พระเดชพระคุณ พระอาจารย์ใหญ่มหาเวด มะเสไน และคณะสงฆ์ลาว ได้เมตตาเข้าพักที่โรงแรมโซฟิเทลที่พนมเปญ และเสียมราฐ เพื่อถวายการดูแลและอำนวยความสะดวกตลอดระยะเวลาเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาในครั้งนี้
ท้ายสุดนี้ ขอผลบุญกุศลที่ก่อเกิดขึ้นแล้วนี้ จงเป็นพลังธรรมอำนาจ อำนวยพรให้ท่านทั้งหลาย พบแต่ความสุขความบริบูรณ์ ปราศจากทุกข์ภัย ก้าวข้ามพ้นสังสารวัฏฏ์ สู่พระนิพพานในกาลอันควรเทอญ
เสาร์ที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๖ ณ วัดพระเชตุพนฯ
กราบอาราธนา เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์
ขอเมตตารับเป็นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สถาบันโพธิคยาฯ
เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เมตตาประทานโอกาส ให้ ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการ สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสถาบัน ดร.อภัย จันทนจุลกะ นายเกษม มูลจันทร์ นายสุรพล มณีพงษ์ และ ดร.อัจฉราวดี แมนชาติ เข้ากราบขอโอกาสอาราธนา เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เมตตารับเป็นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สถาบันโพธิคยาฯ เพื่อให้การขับเคลื่อนการหนุนเสริมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติของสถาบันโพธิคยาฯ บรรลุตามวัตถุประสงค์ต่อไป
วันศุกร์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
ทำบุญปีใหม่ไทย
เนื่องในเทศกาลปีใหม่ไทย ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิฯ นำคณะผู้บริหารสถาบัน ทำบุญปีใหม่ไทยร่วมกับคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ โรงแรมโซฟิเทล กระบี่ โภคีธรา กอล์ฟ แอนด์ สปา รีสอร์ท โดยจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เริ่มเวลา ๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุม โรงแรมโซฟิเทล กระบี่ โภคีธรา กอล์ฟ แอนด์ สปา รีสอร์ท นำโดย พระเดชพระคุณ พระเมธีวรญาณ คณบดีคณะพุทธศาสตร์ มจร
จากนั้นถวายสังฆทานพร้อมปัจจัย และถวายภัตตาหารเช้าร่วมกัน พระสงฆ์ให้พร เป็นอันเสร็จพิธี
ในศุภวาระนี้ ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และคุณความดีที่บำเพ็ญ เป็นปัจจัยนำพาสันติสุขมาสู่ทุกท่าน ขอให้ท่านจงเป็นผู้เจริญด้วยสรรพมงคล สมปรารถนาในสิ่งที่ประกอบโดยธรรม ประสบความสวัสดีเกษมศานต์ ตลอดพุทธศักราช ๒๕๖๖ นี้ โดยทั่วหน้ากัน เทอญ
วันศุกร์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
ประชุมหาแนวทางการทำงานพระพุทธศาสนาร่วมกัน
สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ ร่วมกับคณะพุทธศาสตร์ มจร จัดประชุมปรึกษาหารือแนวทางในการทำงานร่วมกันทั้งทางด้านวิชาการ และงานการขับเคลื่อนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ที่โรงแรมโซฟิเทล กระบี่ โภคีธรา กอล์ฟ แอนด์ สปา รีสอร์ท
ในการนี้ ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการ สถาบันโพธิฯ ได้นำประเด็นสำคัญมาหารือ ดังนี้ เช่น
• การจัดทำ “หลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิธีพุทธ – พุทโธปนายิกศาสตร์” โดยมี นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ดัวย
•การวางแผนจัดโครงการธรรมยาตรา ครั้ง ๓
• และการวางแผนงานคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติรับรางวัลโพธิคยานาคาธิบดี ประจำปี ๒๕๖๗ โดยมี ดร.อภัย จันทนจุลกะ ประธานรางวัลโพธิคยานาคาธิบดี เป็นประธานนำการหารือ
สำหรับการประชุมครั้งนี้มีคณะผู้บริหารเข้าร่วมประชุมทั้งหมด ๑๕ รูป/คน นำโดย พระเดชพระคุณ พระเมธีวรญาณ คณบดีคณะพุทธศาสตร์ มจร ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิฯ พร้อมด้วย ดร.อภัย จันทนจุลกะ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ นายเกษม มูลจันทร์ นายสุรพล มณีพงษ์ เป็นต้น
วันศุกร์ที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๗.๓๐ น.
ร่วมพิธียกยอดฉัตร ประจำศาสนสถานกลางกองทัพบก
ในนามสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ นำโดย นายเกษม มูลจันทร์ รองเลขาธิการ เข้าร่วมพิธียกฉัตรขาว ๕ ชั้น เพื่อถวายพระพุทธรูปบูชาประจำศาสนสถานกลางกองทัพบก จำนวน ๓ องค์ คือ พระพุทธสิงห์ชัยมงคล พระศรีสัมพุทธโมลี และพระพุทธเอกอาทิตย์สิทธิชัยมงคล ณ ห้องประชุมพระพุทธสิงห์ชัยมงคล กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารบก
ในศุภวาระนี้ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระธีรญาณมุนี เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส เป็นประธานสงฆ์ พระเดชพระคุณ พระธรรมวชิรสุธี เจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม และพระสงฆ์วัดอาวุธวิกสิตาราม รวม ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ ชัยมงคลคาถา อัญเชิญฉัตรขาว ๕ ขึ้นประดิษฐาน โดยมี พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบกเป็นประธานในพิธี
จากนั้นร่วมพิธีปิดทององค์พระพุทธสิงห์ชัยมงคล และถวายภัตตาหารเพล เป็นอันเสร็จพิธี
วันที่ ๒๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๖
งานบุญฉลองอายุวัฒนมงคล ๖๒ ปี พระเทพวัชราจารย์
อายุวัฒนมงคล ๖๒ ปี พระเดชพระคุณ พระเทพวัชราจารย์ (เทียบ สิริญาโณ ป.ธ.๙, M.A., Ph.D, รศ.ดร.) รองเจ้าคณะภาค ๕ ที่ปรึกษาประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ผู้อำนวยการสถาบันพระไตรปิฎกศึกษา มจร ผู้ช่วยแม่กองบาลีสนามหลวง ประธานคณะกรรมการฝ่ายเผยแผ่ เจ้าคณะกลาง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
ในศุภวาระนี้ คณะผู้บริหารสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ นำพานพุ่มดอกไม้เข้าร่วมน้อมถวายมุทิตาสักการะนำโดย ดร.อภัย จันทนจุลกะ นายเกษม มูลจันทร์ นายสุรพล มณีพงษ์ นายพรเทพ อัมพรกลิ่นแก้ว และดร.อัจฉราวดี แมนชาติ จากนั้นร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์นพเคราะห์ เพื่อความเป็นสิริมงคล จบพิธี
วันอาทิตย์ที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๙.๐๐ น.
บ่มเมล็ดพันธ์บุญกุศล สร้างอริยทรัพย์แด่เยาวชนกัมพูชา
ที่วัด Nigrodavana (Kototent) กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ บรรยายพิเศษเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตให้กับเยาวชนและผู้ปกครองชาวกัมพูชา ภายใต้หัวข้องาน Ending Poverty in our Generation จัดโดยโรงเรียน PSE กัมพูชา
ดร.สุภชัยฯ บรรยายในหัวข้อ “Healthy relation between parent and kids” เนื้อหาการบรรยาย ใช้ประสบการณ์ตรงเริ่มด้วยเส้นทางกว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ ต้นทางแห่งความสำเร็จที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการทำงานของ”คุณพ่อวินัย คุณแม่นวลละออ วีระภุชงค์” ซึ่งเป็นผู้ก่อร่างสร้างครอบครัววีระภุชงค์จนเป็นปึกแผ่น ท่านขยันทำงานด้วยความสุข มีฉันทะ พอใจ มีความรักในงานที่ทำ และหวังผลให้งานได้ผลดียิ่งขึ้นๆ มีวิริยะ ขยัน มีความพยายาม อดทน และใจสู้ มีจิตตะ ก่อนจะทำ ขณะทำงาน ท่านใช้ความคิดในงานที่ทำอย่างรอบคอบ ใช้วิมังสา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจสอบ มีการวางแผน หาวิธีแก้ไขปรับปรุงให้งานดีขึ้นเสมอ พร้อมกับการตั้งเป้าหมายของชีวิตไว้ อุทิศตนฝ่าฟันไปสู่เป้าหมายด้วยหลักคุณธรรมนำธุรกิจ และไม่กำหนดเวลาในการถึงเป้าหมาย อยู่กับการทำปัจจุบันให้เต็มที่
ดร.สุภชัยฯ ชวนเยาวชนกัมพูชา ให้ตระหนักถึงจุดแข็งของตนเอง และมองให้ทะลุว่า ความจนไม่ใช่อุปสรรค และให้พัฒนาตนเองจากจุดแข็ง คือ การเกิดในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ในแผ่นดินลุ่มน้ำโขง ดินแดนแห่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตกาล ผู้คนมีพื้นฐานการคิดนำพุทธธรรมมาใช้เป็นหลักดำเนินชีวิต ชาวพุทธนับถือกันเป็นพี่น้องญาติมิตร เป็นลูกพระพุทธเจ้าเหมือนกัน เกิดในลุ่มน้ำเดียวกัน มีแม่น้ำโขงหล่อเลี้ยงให้ความอุดมสมบูรณ์ ดุจมีแม่คนเดียวกัน
ดังนั้น การเกิดในประเทศที่พบพระพุทธศาสนา นับเป็นมงคล ดังบทสวดมนต์ตอนหนึ่งว่า ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ การอยู่ในประเทศอันสมควร การเป็นผู้มีบุญได้ทำไว้ก่อน การตั้งตนไว้ชอบ กิจสามอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด พวกเราจึงนับว่ามีบุญที่อยู่ในครอบครัวชาวพุทธที่มีโอกาสทำบุญกุศล ที่ไม่จำเป็นต้องทำด้วยเงินเท่านั้น เราเจริญขึ้นได้แน่นอน ดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง ขอให้เชื่อในเรื่องเหตุและผล ทำดีวันนี้ต้องได้ดีแน่นอน อย่าประมาท เพราะไม่รู้ว่าความตายจะมาถึงเมื่อไหร่ เพราะพวกเราอยู่ในกฎแห่งความไม่แน่นอนของโลก คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ขอให้เยาวชนทุกคน ตั้งเป้าหมาย ค้นหาและเชื่อมั่นในศักยภาพตนเอง พัฒนาตนเองสม่ำเสมอ ตั้งมั่นในกตัญญูกตเวทิตาธรรมต่อพ่อแม่ ต่อผู้มีพระคุณ รู้จักการให้ความเคารพ มีพรหมวิหาร ๔ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา รู้จักขอขมาอโหสิกรรม รู้จักให้อภัย ไม่จองเวร ดำเนินชีวิตด้วยสติ จนมีพลังปัญญาเห็นโลก เห็นปัญหาอุปสรรค ความเป็นไปในโลกตามความจริง ทำดังนี้ไปเรื่อย ๆ ชีวิตต้องได้ดี มีอริยทรัพย์ข้ามภพชาติ และ…วันหนึ่งจะถึงพระนิพพาน ดับทุกข์ได้
นอกจากนั้น ดร.สุภชัยฯ ยังได้กล่าวถึงผู้ปกครองเยาวชนที่ร่วมฟังบรรยายด้วยว่า “ขอให้ตระหนักถึงหน้าที่พ่อแม่ และการพัฒนาตนให้สมกับดำรงอยู่ในฐานะพระอรหันต์ของลูก ให้ลูกกราบได้สนิทใจ บทบาทพ่อแม่ซึ่งสำคัญที่สุด คือ การเลี้ยงดูอบรมสั่งสอน แบบไม่คาดหวังให้ลูกเป็นอย่างที่ใจพ่อแม่ต้องการ ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้เติบโตตามความต้องการของตัวเอง และอยู่ในหลักศีลธรรม พ่อแม่ต้องเชื่อในอำนาจแห่งกุศล อกุศล และกฎแห่งกรรม ที่ลูกแต่ละคนได้สั่งสมบารมี และมีวิบากกรรมมาไม่เหมือนกัน ทุกคนจึงมีเส้นทางที่แตกต่างกัน พ่อแม่ที่เข้าใจจะทำหน้าที่เติมเต็มในส่วนที่ลูกขาด คอยสนับสนุนและให้กำลังใจให้ลูกได้เติบโตตามเป้าหมายที่ต้องการ”
ในการนี้ ยังมีการบรรยายธรรมจาก Ven. Dr. Kou Sopheap วัด Nigrodavana (Kototent) ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มียอดผู้ติดตามในสื่อออนไลน์กัมพูชามากกว่าสี่ล้านคน และการบรรยายที่สร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตจาก H.E.Veng Sereyuth ถึงความสำเร็จในชีวิตและความสำคัญของการศึกษา ผู้เขียนหนังสือ “No One Born Poor” อดีตรัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยวกัมพูชา
สุดท้ายดร.สุภชัยฯ ได้มอบยาสามัญประจำบ้านให้กับผู้ร่วมงานทุกท่านด้วย อิ่มบุญมีความสุขกันถ้วนหน้า
วันอาทิตย์ที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๙.๐๐ น.
ร่วมบำเพ็ญบุญสงกรานต์ ที่สนามกอล์ฟ โภคีธารา เมืองเสียมราฐ กัมพูชา
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ ร่วมบำเพ็ญบุญเนื่องในประเพณีสงกรานต์ พร้อมกับพนักงานสนามกอล์ฟโภคีธารา
วันพุธที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖
เลี้ยงต้อนรับสมาชิกผู้ก่อตั้งสภาการปกครอง มูลนิธิอินเดีย
ดร. สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารเย็นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร. Ram Madhav สมาชิกผู้ก่อตั้งสภาการปกครอง มูลนิธิอินเดีย องค์กรที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีอินเดีย และ ฯพณฯ นาย Nagesh Singh เอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย ที่โรงแรม Novotel สนามบินสุวรรณภูมิ ใน โอกาสที่ ดร. Ram Madhav เดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อหารือ กระชับความร่วมมือระหว่าง สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 กับมูลนิธิอินเดีย โดยมีนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ และนาย Kesang Wangdi เลขานุการเอก (ฝ่ายกงสุล) สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย เข้าร่วมการหารือด้วย
วันอาทิตย์ที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖
ร่วมไว้อาลัยอดีตกรรมการบริหารสถาบันโพธิคยาฯ
คณะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมการบริหาร นำโดย พระเมธีวรญาณ พระวิเทศวชิญาณ วิ. ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการ พร้อมคณะ ร่วมพิธีรดน้ำศพ พิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และพิธีสวดพระอภิธรรม บำเพ็ญกุศล อุทิศแด่ นายณัฏฐวุฒิ โพธิสาโร อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ และอดีตรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อดีตกรรมการบริหารสถาบันโพธิคยาฯ ณ ศาลาสารัชถ์-นลินี รัตนาวะดี วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน
ด้วยความรักและความอาลัยยิ่ง
วันอังคารที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
สักการะ มหาสถูปสาญจี มรดกโลก
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการ สถาบันโพธิคยาฯ และนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สถาบันโพธิคยาฯ พร้อมนายธีรภัทร มงคลนาวินอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี เข้ากราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มหาสถูปสาญจี เขตรายเสน รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓ และนับเป็นพุทธสถานเก่าแก่แห่งหนึ่งในโลก เป็นสถูป ๑ ใน ๘๔,๐๐๐ สถูปของพระเจ้าอโศกมหาราชที่ยังคงอยู่อย่างสมบูรณ์แบบ
วันอังคารที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
เข้ากราบนมัสการหัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล
ดร. สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ ได้เข้ากราบนมัสการพระธรรมโพธิวงค์ (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ,ดร.) หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา และผู้อำนวยการสถาบันโพธิคยาฯ ณ วัดไทยพุทธคยา เมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เพื่อรายงานผลการประชุมทางวิชาการของ The 7th International Dharma Dhamma Conference และรายงานผลการหารือทวิภาคีระหว่างสถาบันฯ กับองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ โดยพระธรรมโพธิวงศ์ ได้แนะนำให้เสริมบทบาท และการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น สำหรับพระธรรมทูต ให้เข้าใจในปรัชญาเชิงลึกของพระพุทธศาสนา และให้องค์กรระหว่างประเทศได้เข้าใจในหลักวิชาพุทธศาสตร์ นิกายเถรวาท เพื่อเตรียมความพร้อม สำหรับปูพื้นฐานการนำพุทธศาสนาเถรวาทกลับคืนสู่ดินแดนพุทธภูมิ ให้สมตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าอโศกมหาราช ในการส่งเสริม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในชมพูทวีปสืบไป
วันอังคารที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
เยี่ยมชมมหาวิทยาลัยนาลันทา เตรียมทำ MOU
ดร. สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ พร้อมด้วยนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยนาลันทา เขตรัฐพิหาร ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของอินเดียในด้านการศึกษาที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและมนุษยวิทยา
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนาลันทาได้รับการก่อตั้งขึ้นใหม่โดยรัฐบาลอินเดีย และพยายามคงดำเนินการศึกษาด้านปรัชญาและองค์ความรู้ทางด้านการศึกษาให้ใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยนาลันทาเดิม ซึ่งสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 800 โดยราชวงศ์คุปตะ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้พุทธธรรม และเป็นที่เก็บพระอัฐิธาตุพระสารีบุตร โดยในวันนี้ดร. สุภชัยฯ ได้เข้าพบและหารือกับ Prof. Sunaina Singh รองอธิการบดีฯ เกี่ยวกับความร่วมมือ 3 ฝ่ายระหว่างสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยนาลันทาในด้านการศึกษาพระพุทธศาสนาใน 3 ระดับ ได้แก่
(1) หลักสูตรร่วมการศึกษา วิปัสสนากรรมฐานภาคการปฏิบัติ ระยะสั้น 1 เดือน โดยจะศึกษา ณ มหาวิทยาลัยใดก็ได้
(2) หลักสูตรร่วมการศึกษาปรัชญา และองค์ความรู้หลักพระพุทธศาสนา ระยะสั้น 3 เดือน หลักสูตรนี้นักศึกษาจะได้รับหน่วยกิต 5-10 หน่วยกิต และจะศึกษา ณ มหาวิทยาลัยใดก็ได้
(3) หลักสูตรการศึกษาร่วมปริญญาโท ด้านพระพุทธศาสนา โดยนักศึกษาจะต้องเลือกเรียนวิชาในมหาวิทยาลัยทั้ง 2 แห่ง แห่งละ 1 ปี หลักสูตรนี้ กำหนดให้มหาวิทยาลัยทั้ง 2 ต้องทำความตกลงเพื่อให้มีการยอมรับและรับรองหลักสูตรระหว่างกัน
Prof. Singh เห็นด้วยกับข้อเสนอของ ดร. สุภชัยฯ และพร้อมที่จะทำความตกลง 3 ฝ่ายโดยเร็ว ที่สุดเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ในการนี้ Prof. Singh ได้เสนอให้ทั้ง 3 ฝ่ายแลกเปลี่ยนร่างความตกลงเพื่อเร่งกระบวนการพิจารณาในทำความตกลง ในส่วนของฝ่ายไทย สถาบันโพธิคยาฯจะเร่งหารือกับมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยเพื่อจัดทำความตกลง 3 ฝ่ายให้ประสบผลโดยเร็วต่อไป
วันจันทร์ที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
เอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี เลี้ยงต้อนรับ
นางสาวภัทรัตน์ หงษ์ทอง เอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เลี้ยงต้อนรับ ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ และนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ที่ปรึกษาสถาบันโพธิคยาฯ เนื่องในโอกาสเดินทางมายังประเทศอินเดีย เพื่อเข้าร่วมการประชุมทางวิชาการระหว่างประเทศ “ธรรมะของพระพุทธศาสนา: เมตตาธรรมของโลกตะวันออก สำหรับโลกยุคใหม่” the 7th International Dharma Dhamma Conference: Eastern Humanity for the New Era ที่ศูนย์ประชุม Kushabhau Thakre International Convention Centre เมืองโบภาล (Bhopal) เมืองหลวงรัฐมัธยประเทศ (Madhya Pradesh) ประเทศอินเดีย
ในการนี้ ดร.สุภชัยฯ ได้มอบรูปปั้นพระบรมครูแพทย์ชีวกโกมารภัจจ์ แด่ท่านเอกอัครราชทูต เพื่อความเป็นสิริมงคล และขอบคุณในความอนุเคราะห์ต่าง ๆ มา ณ โอกาสนี้
วันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
มาฆบูชา เวียนเทียนประทักษิณ ณ พระมหาโพธิเจดีย์พุทธคยา
พระเดชพระคุณ พระธรรมโพธิวงศ์ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ผู้อำนวยการหลักสูตรสถาบันโพธิคยาฯ พร้อมด้วย คณะสงฆ์ และดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ที่ปรึกษาสถาบันโพธิคยา ฯ และ อุบาสก อุบาสิกา ผู้แสวงบุญ เวียนเทียนประทักษิณ ณ พระมหาโพธิเจดีย์ พุทธสังเวชนียสถานที่ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และกราบสักการะ “พระพุทธเมตตา” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวพุทธศรัทธานับถือ เนื่องในวันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา เป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” หลักคำสอนหัวใจพระพุทธศาสนา แก่พระอรหันตสาวกจำนวน ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งล้วนอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ที่มาประชุมพร้อมโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์
หลักคำสอน สรุปเป็น ๓ ส่วน ได้แก่
หลักการ_๓ คือ ไม่ทำบาปทั้งปวง ทำกุศลให้ถึงพร้อม ทำจิตใจให้ผ่องใส
อุดมการณ์_๔ คือ ความอดทน การไม่เบียดเบียน ความสงบ ความดับทุกข์
วิธีการ_๖ คือ ไม่ว่าร้ายผู้อื่น ไม่ทำร้ายผู้อื่น สำรวมในพระปาติโมกข์ รู้จักประมาณ อยู่ในสถานที่ที่สงัด ฝึกหัดจิตใจให้สงบ
วันเสาร์ที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
สร้างความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรระหว่างประเทศ
ดร. สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ พร้อมนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ได้พบกับ Hon Vidura Wickramanayaka รัฐมนตรีกิจการศาสนาและวัฒนธรรม ประเทศศรีลังกา และได้รับการขอให้สถาบันฯ พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะขยายขอบเขตการดำเนินโครงการธรรมยาตราให้ครอบคลุมภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย โดยแจ้งว่าศรีลังกายินดีที่จะเข้าร่วมกิจกรรมธรรมยาตราหากสถาบันฯ มีแผนที่จะดำเนินโครงการในครั้งต่อไป
นอกจากนี้ ดร.สุภชัยฯ ยังได้รับคำเชิญจาก Prof. Kusum Jain อดีตศาสตราจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา University of Rajasthan ให้เดินทางไปเยือนมหาวิทยาลัย เพื่อหารือความร่วมมือระหว่างสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ กับ University of Rajasthan ในด้านการศึกษาพระพุทธศาสนา และหลักการปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมอีกด้วย
วันศุกร์ที่ ๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖
เร่งดำเนินแนวทางออกสู่สากล
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ พร้อมนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ได้หารือกับ Mr.Ram Madahv สมาชิกคณะกรรมการบริหารมูลนิธิอินเดีย India foundation เพื่อขยายความร่วมมือการใช้แนวทางพุทธปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนองค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า และการใช้พุทธวิธีการฝึกฝนสมาธิจิตวิปัสสนากรรมฐานในการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในจิตใจพุทธบริษัท อันจะนำมาซึ่งความสงบสุขของสังคมและมวลมนุษยชาติ แนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมาย และปรัชญาสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ และเป็นยุทธศาสตร์การดำเนินโครงการ “ธรรมยาตรา ๕ แผ่นดิน” ทั้ง ๒ ครั้งที่ผ่านมา โดยโครงการธรรมยาตราฯ สามารถสร้างเครือข่ายชาวพุทธในอนุภูมิภาค CLMV ได้อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การสร้างเครือข่ายระหว่างผู้นำประเทศให้ตระหนักถึงหลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารประเทศที่ดี
นอกจากนี้ ดร. สุภชัยฯ และ Mr. Madhav ยังหารือเรื่อง การวางยุทธศาสตร์ให้สถาบันโพธิคยาฯ เป็นศูนย์กลางความรู้และความร่วมมือทางพุทธศาสนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมูลนิธิอินเดียเป็นศูนย์กลางภูมิภาคเอเชียใต้ ต่อจากนั้นได้หารือเรื่อง การวางขั้นตอนในการเตรียมงานเพื่อให้มูลนิธิอินเดียเข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินโครงการ “ธรรมยาตรา ครั้งที่ ๓” ซึ่งจะจัดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๖ และ ดร. สุภชัยฯ ยังเสนอให้ Mr. Madhav พิจารณาจัดการประชุม International Dharma Dhamma Conference ครั้งที่ ๘ ที่ประเทศไทย หรือประเทศในอนุภูมิภาค CLMV เพื่อขยายบทบาทความร่วมมือระหว่างสถาบันโพธิคยาฯ กับมูลนิธิอินเดีย มายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในโอกาสนี้ ดร. สุภชัยฯ กล่าวยืนยันความพร้อมที่สถาบันโพธิคยาฯ จะทำหน้าที่เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์นายกรัฐมนตรีนเรนทระ โมดี #Narendra_Modi เรื่อง #Century_of_Asia ในศตวรรษที่ ๒๑ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งในทัศนะนายกรัฐมนตรีโมดี ศตวรรษที่ ๒๑ จะเป็น Century of Asia ไม่ได้ถ้าไม่มีพุทธศาสนาเป็นกลไกเชื่อมโยงประเทศในทวีปเอเชียเข้าด้วยกัน Mr. Madhav ได้รับฟังวิสัยทัศน์ และปรัชญาการดำเนินกิจกรรมของสถาบันโพธิคยาฯ และมองเห็นว่าการร่วมมือกับสถาบันฯ ในการนำหลักพุทธธรรมในพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ให้เกิดสันติสุขอย่างเป็นรูปธรรมได้
วันพุธที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖
อายุวัฒนมงคลคุณแม่นวลละออ วีระภุชงค์
งานบุญต้นปี ถวายภัตตาหารเจและถวายสังฆทาน
ดร.วินัย วีระภุชงค์ ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สถาบันโพธิคยาฯ ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ และคณะผู้บริหาร พร้อมด้วยครอบครัววีระภุชงค์ ได้ร่วมงานบุญต้นปี พิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายเป็นพุทธบูชา พร้อมถวายภัตตาหารเพล และสังฆทาน เพื่อความเป็นสิริมงคลและแสดงกตัญญูกตเวทิตา เนื่องในโอกาสทำบุญอายุวัฒนมงคลคุณแม่นวลละออ วีระภุชงค์
ในงานนี้ ได้รับเมตตาอย่างสูงจาก พระเดชพระคุณ พระอาจารย์จีนคณาณัติจีนพรต (เย็นงี้) ปลัดขวาจีนนิกาย เลขานุการเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย เจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส ให้การต้อนรับ
ลำดับพิธี เริ่มเวลา ๐๙.๐๐ น. ดังนี้
– ดร.วินัย – คุณนวลละออ วีระภุชงค์ จุดธูปเทียนบูชาดาวนพเคราะห์ เสริมสิริมงคล
– พระสงฆ์จีนนิกาย ๙ รูป เริ่มพิธีเจริญพระพุทธมนต์ บูชาดาวนพเคราะห์เสริมดวงชะตา
จากนั้น ดร.วินัย – คุณนวลละออ วีระภุชงค์ และคณะผู้ร่วมพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พระพุทธปฏิมาตรีกาย (พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์พุทธเจ้า พระอมิตตาภพุทธเจ้า) และพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ทั่วทุกทศทิศ
– พระสงฆ์จีนนิกาย เจริญพระพุทธมนต์ อายุวัฒนมงคล ถวายภัตตาหารเจ และถวายสังฆทาน
ขอน้อมกุศลอวยพร ขอให้ท่านสุขภาพดี มีพลานามัยแข็งแรง เจริญในธรรม อิ่มเอิบความสุข ยิ่งยืนนานตลอดไป
วันจันทร์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๖
รับรางวัลโพธิ์ทองคนต้นแบบ
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เข้ารับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “โพธิ์ทองคนต้นแบบ” จากพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แด่บุคคลผู้ที่ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา โดย พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นประธานในพิธี ในโอกาสครบ ๙๐ ปี พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และให้เกียรติเป็นประธานมอบรางวัล ที่ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ ถนนอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
สำหรับโล่ประกาศเกียรติคุณ “โพธิ์ทองคนต้นแบบ” ได้อัญเชิญใบโพธิ์จากต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ ที่พุทธคยา ซึ่งถือว่าเป็นพุทธอุทเทสิกเจดีย์ นำไปชุบทอง 24K ที่ประเทศอินเดีย จัดทำเป็นโล่ใสสองด้านรูปทรงใบโพธิ์ พร้อมจารึกตราสัญลักษณ์ ๙๐ ปี
ขอแสดงมุทิตายินดีกับท่านเลขาธิการ ผู้เป็นอุบาสก สาวกแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุทิศตนอุปการะและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ช่วยส่งเสริมการเผยแผ่และปกป้องพระพุทธศาสนา ขออำนาจแห่งบุญกุศลนี้ จงเป็นฐานเป็นกำลังส่งให้ท่านเจริญในมรรคธรรมแห่งองค์พระศาสดา จนถึงพระนิพพานเทอญ
วันอาทิตย์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๖
อายุวัฒนมงคลคุณแม่นวลละออ วีระภุชงค์
ดร.วินัย วีระภุชงค์ ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สถาบันโพธิคยาฯ ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ และคณะผู้บริหาร พร้อมด้วยครอบครัววีระภุชงค์ ได้ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลและแสดงกตัญญูกตเวทิตา เนื่องในโอกาสทำบุญอายุวัฒนมงคลคุณแม่นวลละออ วีระภุชงค์
ในงานนี้ ได้รับเมตตาจาก พระเดชพระคุณ พระเมธีวรญาณ (ผศ.ดร.) คณบดีคณะพุทธศาสตร์ มจร พร้อมคณะผู้บริหารและคณะอาจารย์ คณะพุทธศาสตร์ มจร. เจริญพระพุทธมนต์ และให้พร
ขอน้อมกุศลอวยพร ขอให้ท่านสุขภาพดี มีพลานามัยแข็งแรง เจริญในธรรม อิ่มเอิบความสุข ยิ่งยืนนานตลอดไป
วันอาทิตย์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๓๐ น.
ประชุมเตรียมเปิดหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (ภ.ม.พ.)
พระเดชพระคุณ พระเมธีวรญาณ คณบดีคณะพุทธศาสตร์ มจร และคณะพระอาจารย์ผู้บริหาร คณะพุทธศาสตร์ มจร และ ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ พร้อมด้วย ดร.อภัย จันทนจุลกะ ประธานที่ปรึกษาสถาบันโพธิคยาฯ และนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ จัดประชุมหารือเตรียมเปิดหลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (ภ.ม.พ.) หรือ พุทโธปนายิกศาสตร์, Buddhopanāyikasat Programme) ซึ่งจะเปิดรับผู้เข้าร่วมอบรมรุ่นที่ ๑ ภายในเดือนสิงหาคม หรือ ก่อนวันเข้าพรรษาปีนี้
หลักสูตรภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ เป็นหลักสูตรระยะสั้น และเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันโพธิคยาฯ และคณะพุทธศาสตร์ มจร สนับสนุนโดย มูลนิธิวีระภุชงค์ ทั้งนี้เป้าหมายหลักสูตรจะมุ่งเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้เสริมสร้างความรู้ด้านการเป็นผู้นำที่มีความมั่นคงในวิถีพุทธ เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้พัฒนาตนเอง บริหารจัดการองค์กร สร้างสังคมที่มีคุณธรรม และประเทศชาติให้บรรลุผลสำเร็จโดยธรรม โดยสร้างภาวะความเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาการบริหารงานทั้ง ๔ ด้าน คือ กายภาวนา สีลภาวนา จิตภาวนา ปัญญาภาวนา รวมทั้งเพื่อให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้พุทธวิธีพัฒนาตนเองและองค์กร หรือสถาบันของตนสู่ความเป็นอริยชน
แสงสว่างแห่งธรรมที่ Truc Lam Dai Giac Monastery
เนื่องในโอกาสเยือนประเทศเวียดนาม ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ ได้เข้าพบ ท่านเจ้าอาวาสวัด Truc Lam Dai Giac ที่จังหวัด Lao cai ประเทศเวียดนาม วัดนี้มีชื่อเสียงเกี่ยวกับเรื่องการสอนวิปัสสนากรรมฐาน และเป็นสถานปฏิบัติธรรมมีหลายสาขาโดยเฉพาะตามเมืองท่องเที่ยวต่างๆเช่น เมือง ฮาลอง เมือง ดาลัท ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวชื่อหลักของประเทศเวียดนามซึ่งท่านเจ้าอาวาสพระ Thich Tinh Thien ได้ให้การต้อนรับและสนทนาธรรมเกี่ยวกับหลักการวิปัสสนา และการใช้ชีวิตในวิถีพุทธ
วันพุธที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา
น้อมกราบมุทิตาสักการะ เจ้าอาวาสวัดป่าบรมธาตุราชสักการ (อินเดีย)
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการ สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 พร้อมด้วยนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ที่ปรึกษาสถาบันโพธิคยาฯ เข้าร่วมถวายมุทิตาสักการะ แด่พระเทศวชิรญาณ วิ. (สมพงศ์ ญาณธีโร, ดร.) เจ้าอาวาสวัดป่าบรมธาตุราชสักการ (อินเดีย) รักษาการเจ้าอาวาสวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ (อินเดีย) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร เนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี เชิญสัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตร ถวายแด่ พระวิเทศวชิรญาณ วิ. ณ พระอุโบสถ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร.
วันอาทิตย์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๖
พิธีมอบ “รางวัลโพธิคยานาคาธิบดี ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๖”
สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ ร่วมกับคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) และมูลนิธิวิระภุชงค์ ได้จัดพิธีมอบ “รางวัลโพธิคยานาคาธิบดี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖” ณ สวนสาธารณะองค์พญาศรีภุชงค์มุกดานาคราช อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร โดยมีจุดมุ่งหมายสนับสนุนการเผยแผ่และปกป้องพระพุทธศาสนา จึงค้นหาบุคคล คณะบุคคล องค์กรเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติผู้อุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา โดยถอดความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคในด้านการเจริญทางพุทธิปัญญา และด้านการสร้างศรัทธาให้เกิดพลังนำมาเป็นแนวทางในการทำงานพัฒนาตนเองและสังคมสู่สันติสุข
พิธีมอบรางวัลโพธิคยานาคาธิบดี ครั้งแรกนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.วินัย วีระภุชงค์ เป็นประธานในพิธี ดร.อภัย จันทนจุลกะ เป็นประธานคณะกรรมการรางวัลโพธิคยานาคาธิบดี และเป็นประธานมอบรางวัลให้แก่บุคคล คณะบุคคล และองค์กร จำนวน ๓ สาขา จำนวน ๑๑ รางวัล
วันพุธที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๖
แถลงข่าวการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ
ที่สถาบันโพธิคยาฯ สำนักงานประเทศไทย ห้องประชุมชั้น 6 บริษัทไทยนครพัฒนา จำกัด สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 จัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ว่าด้วยการส่งเสริมสนับสนุนทางวิชาการทางพระพุทธศาสนาและงานวิจัย ระหว่างคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กับสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 และประกาศรายชื่อผู้รับรางวัล ‘โพธิคยานาคาธิบดี’
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 กล่าวสัมโมทนียกถา ของพระธรรมโพธิวงศ์ ผอ.หลักสูตรสถาบันโพธิคยาฯ หัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล ถึงการดำเนินงานของสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 และแถลงข่าว รางวัล “โพธิคยานาคาธิบดี”
ดร.สุภชัย กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือครั้งนี้มีขึ้นเพื่อสนับสนุน ต่อยอดงานวิจัยด้านพระพุทธศาสนาทั้งในระดับชาติ และภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งขณะนี้ได้สรุปงานวิจัยชุดแรกไปแล้ว ในหัวข้อ “อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีต่อพระพุทธศาสนาในประเทศไทย” ภายใต้แผนการวิจัยหัวข้อ “อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในลุ่มแม่น้ำโขง” และมีแผนลงพื้นที่ศึกษาวิจัยในหัวข้อเดียวกันที่ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนมา เร็วๆนี้ นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือด้านการจัดการบริการวิชาการแก่สังคมด้วยหลักสูตรพระพุทธศาสนาระยะสั้น โดยปีนี้มีแผนเปิดหลักสูตร ‘ภาวะผู้นำที่มั่นคงในวิถีพุทธ (พุทโธปนายิกศาสตร์) อีกด้วย
สำหรับรางวัลโพธิคยานาคาธิบดี ถือกำเนิดขึ้นเพื่อค้นหา ยกย่อง และเชิดชูเกียรติผู้อุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา โดยถอดความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคในด้านการเจริญทางพุทธิปัญญา และการสร้างศรัทธาให้เกิดพลังมาเป็นแนวทางในการทำงานพัฒนาตนเองและสังคมสู่สันติสุข
ด้าน พระเมธีวรญาณ คณบดีคณะพุทธศาสตร์ มจร. กล่าวถึงความเชื่อเรื่องพญานาคในพระพุทธศาสนา รวมถึงการต่อยอดการศึกษา เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
“คณะพุทธศาสตร์ มจร มีเป้าประสงค์ผลิตบัณฑิต การวิจัย และการบริการวิชาการเพือ่พัฒนาจิตใจ และสังคมโดยศาสตร์ทางพุทธศาสนาแบบบูรณาการ จึงร่วมกับสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 และมูลนิธิวีระภุชชงค์ ซึ่งให้ความสำคัญกับงานด้านพระพุทธศาสนา” พระเมธีวรญาณกล่าว
จากนั้น นางสาวทิพย์วรรณ วีระภุชงค์ กรรมการมูลนิธิวีระภุชงค์ กล่าวว่ารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมในการสนับสนุบการจัดงานครั้งนี้ ซึ่งสอดคล้องกับ เป้าประสงค์ของมูลนิธิที่ให้ความสำคัญต่อกิจกรรมทางพระพุทะศาสนา และขออนุโมทนาบุญกับผู้ได้รับรางวัลโพธิคยานาคาธิบดีทั้ง 11 รางวัล ซึ่งล้วนเป็นผู้อยู่ในเส้นทางแห่งกุศลความดีในการทำงานออกมาให้สาธารณชนได้รู้จักอย่างเป็นรูปธรรม
ดร. อภัย จันทนจุลกะ ประธานคณะกรรมการรางวัลโพธิคยานาคาธิบดี กล่าวว่า บุคคลและองค์กรที่ได้รับรางวัลทั้งหมดรวม 11 รางวัลมีความทุ่มเทและเสียสละในการเผยแผ่พระศาสนา ผลงานชัดเจนในการดำเนินกิจการและส่งเสริมพระพุทธศาสนา รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพญานาค แบ่งเป็นสาขาต่างๆ ได้แก่
1. สาขาส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา ประเภทบุคคล 3 รางวัล ได้แก่ พระธรรมราชานุวัตร, พระเทพวัชราจารย์ ,ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย
2. สาขาส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา ประเภทองค์กร 3 รางวัล ได้แก่ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก, ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมป์
3. สาขาพุทธศิลป์ ประเภทบุคคล ได้แก่ อาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี) ประจำปี 2546, นายวัชราศิลป์ พิสิทฐ์กูล จิตรกรอัจฉริยะรุ่นเยาว์
4. สาขาสื่อมวลชนเพื่อพระพุทธศาสนา ประเภทบุคคล ได้แก่ นายขรรค์ชัย บุนปาน ประธานกรรมการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และนายศิริชัย บุญชิต หรือ หนึ่ง นาคา ผู้ผลิตรายการและพิธีกรรายการคนหัวนาค
5.รางวัลโพธิคยานาคาธิบดี สาขาสื่อมวลชนเพื่อพระพุทธศาสนา ประเภทบุคคล ได้แก่ รายการตามรอยนาคา ช่องยูทูปนาคาทีวี ดำเนินรายการโดย นายพศิน เรืองวุฒิ
จากนั้น เมื่อเวลาราว 11.30 น. เข้าสู่พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ว่าด้วยการส่งเสริมสนับสนุนทางพุทธศาสนาและงานวิจัย ระหว่างสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 กับคณะพุทธศาสตร์ มจร. และมูลนิธิวีระภุชงค์
วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๖
พระพุทธศาสนาฐานสร้างสันติสุขมวลมนุษย์ชาติ
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ พร้อมด้วยนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ ที่ปรึกษาสถาบันฯ นัดพบหารือกับท่านเอกอัครราชทูตนายนาเกช ซิงห์ (Mr. Nagesh Singh) ที่สถานทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย เพื่อแสวงหาความร่วมมือต่อยอดในการสร้างสัมพันธ์ไมตรีระหว่างกลุ่มประเทศเอเชีย โดยใช้พระพุทธศาสนาเป็นฐานเพื่อสร้างสันติสุขให้มวลมนุษย์ชาติ
พร้อมกันนี้ ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันฯ ได้มอบรูปพระบรมครูแพทย์ชีวกโกมารภัจจ์และหนังสือธรรมยาตรา ๕ แผ่นดิน แด่ท่านเอกอัครราชทูตนาเกช ซิงห์ เพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นที่ระลึก
วันจันทร์ที่ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๖
การศึกษาวิจัยหัวข้อ อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคในสปป.ลาว
เนื่องในโอกาสเยือนสปป.ลาว ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ เข้าพบนางธัมมชลี วงศ์พระจันทร์ รองประธานสภาและประธานกรรมมาธิการวัฒนธรรม-สังคม สปป.ลาว เพื่อหารือถึงความสำคัญในเรื่องการศึกษาวิจัยหัวข้อ อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคในสปป.ลาว ที่สถาบันได้ร่วมมือทำงานวิจัยกับ คณะพุทธศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมูลนิธิวีระภุชงค์ เพื่อหาแนวทางการปฏิบัติในการทำวิจัยหัวข้อดังกล่าวในสปป.ลาว โดยมี พระอาจารย์ ดร. พวงประเสริฐ พูมะวงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์องค์ตื้อ และนายแพทย์อนันต์ อินทะวงศ์ นางเลิดมะนี ลาซะจำพอน เป็นคณะผู้แทนสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ เข้าร่วมรับฟังการหารือด้วย
ทั้งนี้ สถาบันเตรียมสนับสนุนข้อมูล จากงานวิจัยเพื่อยกระดับให้ความเชื่อเรื่องพญานาคเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง และขอขึ้นทะเบียนรายการต่อองค์การยูเนสโก สร้างประวัติศาสตร์ของชาวพุทธลุ่มน้ำโขง ที่มีมรดกโลกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมร่วมกัน
ในการนี้ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ ได้มอบพระพุทธรูปเมตตา และหนังสือธรรมยาตรา ๕ แผ่นดินลุ่มน้ำโขง แด่ รองประธานสภาและประธานกรรมาธิการวัฒนธรรม-สังคม ไว้เพื่อเป็นสิริมงคลและเป็นที่ระลึก
Head Office
Wat Thai Buddhagaya (Royal Thai Monastery Buddhagaya),
Bodhgaya Pin.824231, Dist. Gaya, State; Bihar, India
Thailand Office
14 Ngamwongwarn 8 Alley BangKhen
Mueang Nonthaburi Nonthaburi 11000